คุณสามารถออกแบบโปรแกรมสมาชิกและโปรโมชันของคุณเองให้ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างลูกค้าประจำให้เพิ่มขึ้นได้ ด้วยการเก็บข้อมูลลูกค้า เช่น วันเกิด
ในบทความนี้ เราจะแนะนำ 5 จุดสำคัญดังนี้:
- การตั้งค่าทั่วไป
- การแสดงผลหน้าร้านค้า
- การตั้งค่าหน้าเพจการบริหารลูกค้า
- รายละเอียดคำสั่งซื้อของลูกค้า
- การนำเข้า/ นำออกข้อมูลลูกค้าทีละหลายรายการ
1. การตั้งค่าทั่วไป
ที่หน้าแอดมิน ไปที่ [การตั้งค่า] > [การตั้งค่าลูกค้า] > [ช่องที่ตั้งค่าล่วงหน้า]
A. หน้าเพจต่างๆที่แสดงวันเกิด
ลูกค้าสามาถกรอกวันเกิดได้ 3 ที่ในหน้าร้านค้า:
- แบบฟอร์มการเช็คเอาท์: หน้าเพจที่ลูกค้าเช็คเอาท์
- แบบฟอร์มการลงทะเบียน: หน้าเพจลงทะเบียนที่ลูกค้าลงทะเบียนเป็นสมาชิก
- โปรไฟล์ของผู้ใช้: หน้าเพจโปรไฟล์ที่ศูนย์สมาชิกของหน้าร้านค้าออนไลน์ ([บัญชีของฉัน] > [โปรไฟล์])
กรุณาตรวจสอบ “รวมด้วย” หรือ “จำเป็น” หากคุณต้องการมอบเครดิตร้านค้าให้สมาชิกโดยอัตโนมัติหรือในวันแรกขงงเดือนเกิด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครดิตวันเกิด กรุณาอ้างอิงจากบทความนี้
B. รูปแบบการกรอกข้อมูลวันเกิด
คุณสามารถเลือกรูปแบบการกรอกข้อมูลวันเกิดได้ 3 แบบ กล่อง “จำกัดอายุ” จะปรากฎที่ด้านขวาเมื่อเลือก ป/ด/ว หรือ ปป/ดด คุณสามารถจำกัดอายุเมื่อเลือก “รวม” หรือ “จำเป็น” ได้สำหรับทั้ง 3 หน้าเพจดังกล่าว
ค่าพื้นฐานของการจำกัดอายุคือ 13 ปี ระบบจะไม่อนุญาตให้กรอกตัวเลขที่ต่ำกว่า 13 และจะมีความแสดงว่า: “ควรจำกัดให้อายุมากกว่า 13 ปี” หากคุณกรอกอายุใดใดก็ตามที่ต่ำกว่า 13 ปีลงในช่อง
*หมายเหตุ: หากคุณเปลี่ยนรูปแบบวันเกิดเป็น ดด/วว (ไม่มีปีเกิด) ระบบจะไม่สามารถตรวจจับอายุของลูกค้าใหม่ได้เนื่องด้วยลูกค้าไม่สามารถกรอกปีเกิดได้ ในหน้า [รายงานและการวิเคราะห์ผลข้อมูล] > [Shoplytics] > [ลูกค้า] > [ภาพรวมของลูกค้า] แผนภูมิ "อายุของลูกค้า" จะแสดงเพียงข้อมูลอายุของลูกค้าปัจจุบันที่กรอกปีเกิด (ทั้ง ป/ด/ว หรือ ปป/ดด) ก่อนที่คุณจะเปลี่ยนรูปแบบวันเกิดเพียงเท่านั้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการกรอกข้อมูลวันเกิด กรุณาอ้างอิงจากบทความนี้
2.การแสดงผลหน้าร้านค้า
เมื่อตั้งค่าวันเกิดสำเร็จแล้ว ลูกค้าสามารถคลิกที่เมนูตัวเลือกที่หน้าเช็คเอาท์, หน้าลงทะเบียน หรือเพจหน้าโปรไฟล์สมาชิกเพื่อกรอกข้อมูลวันเกิดของตัวเองได้ รูปภาพด้านล่างแสดงรูปแบบการกรอกข้อมูลวันเกิดในหน้าเช็คเอาท์
หากลูกค้าเลือกวันที่บ่งชี้ว่าลูกค้าอายุต่ำกว่า 13 ปี ข้อความแสดงข้อผิดพลาดจะปรากฎขึ้นว่า “วันเกิดไม่ถูกต้อง ควรมีอายุมากกว่า xx ปี” ระหว่างการบันทึกหรือทำการส่งคำสั่งซื้อ
เมื่อคุณเปลี่ยนรูปแบบการกรอกข้อมูลวันเกิดเป็น ป/ด หรือ ดด/วว ในการตั้งค่าลูกค้า รูปแบบการกรอกข้อมูลวันเกิดจะถูกแสดงดังภาพ (ด้านล่าง)
3. การตั้งค่าหน้าเพจการบริหารลูกค้า
ไปที่ [การบริหารลูกค้า] > [ลูกค้า] คลิกที่ ดู ที่ด้านขวาของส่วนข้อมูลลูกค้า จากนั้นคลิกที่ แก้ไข เพื่อเปลี่ยนแปลงเมนูตัวเลือกวันเกิด
หากวันเกิดที่คุณตั้งแสดงอายุต่ำกว่าที่กำหนด การแจ้งเตือนแสดงข้อผิดพลาดของ “วันเกิดไม่ถูกต้อง ควรมีอายุมากกว่า 13 ปี” จะปรากฎขึ้นระหว่างการบันทึกการตั้งค่า
เมื่อเปลี่ยนรูปแบบการกรอกข้อมูลวันเกิดเป็น ปป/ดด หรือ ดด/วว รูปแบบการกรอกข้อมูลวันเกิดจะแสดงดังภาพต่อไปนี้
4. รายละเอียดคำสั่งซื้อของลูกค้า
ไปที่ [การจัดการคำสั่งซื้อ] > [คำสั่งซื้อ] จากนั้นคลิกหมายเลขคำสั่งซื้อที่คุณต้องการดู คลิกที่ แก้ไข ที่มุมบนขวาของส่วน “รายละเอียดคำสั่งซื้อของลูกค้า” เพื่อเปลี่ยน
คลิกที่ บันทึก หลังจากแก้ไขแล้ว รูปแบบการกรอกข้อมูลวันเกิดที่แสดงเป็น ปป/ดด ในส่วน “รายละเอียดคำสั่งซื้อของลูกค้า” ดังภาพด้านล่าง *หมายเหตุ: สำหรับคำสั่งซื้อที่สร้างขึ้นก่อนวันที่ 24 พฤษภาคม 2023 รูปแบบการกรอกข้อมูลวันเกิดจะยังคงเป็นแบบเก่า
5. การนำเข้า/นำออก ข้อมูลลูกค้าทีละหลายรายการ
A. การนำเข้ารายงานลูกค้า
ไปที่ [การบริหารลูกค้า] > [ลูกค้า] คลิกที่ นำเข้ารายงาน จากนั้นเลือก นำเข้ารายงาน ในเมนูตัวเลือกเพื่อนำเข้าข้อมูลลูกค้า (กรุณาอ้างอิงจากนำเข้าข้อมูลลูกค้า | รายชื่อลูกค้าสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม)
เมื่อกรอกข้อมูลในช่องวันเกิดในการนำเข้ารายงาน วันที่ในชีทควรจะต้องตรงตามอายุที่กำหนด มิเช่นนั้นรายงานจะไม่สามารถนำเข้าได้สำเร็จและคุณจะได้รับการแจ้งเตือนข้อความแสดงข้อผิดพลาดว่าว่า “1- วันเกิดใช้ไม่ได้, ควรมีอายุมากกว่า xx ปี”
ดังที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ร้านค้าสามารถเลือกรูปแบบการกรอกข้อมูลวันเกิดได้ 3 แบบ: ป/ด/ว, ปป/ดด, และ ดด/วว กรุณาระมัดระวังเกณฑ์อายุที่จำกัดเมื่อเลือกรูปแบบที่มีข้อมูลปีเกิดด้วย ระบบรองรับเมื่อใช้ “/” หรือ “-” ในชีท ตัวอย่างเช่นคุณสามารถกรอกวันเกิดได้ทั้ง 1990/10/11 หรือ 1990-10-11
B. การนำออกรายงานลูกค้า
คลิก นำออก ที่ด้านข้างเมนูตัวเลือก “นำเข้ารายงาน” รูปแบบวันที่จะแตกต่างกันตามรูปแบบการกรอกข้อมูลวันเกิดที่คุณกำหนดเอาไว้
อ่านเพิ่มเติม
ข้อคิดเห็น